นโยบาย “อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ 6 ด้านหลักของไต้หวัน" (Six Cores Strategic Industries)

นโยบาย “อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ 6 ด้านหลักของไต้หวัน" (Six Cores Strategic Industries)

วันที่นำเข้าข้อมูล 21 ส.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 4 ก.ย. 2566

| 1,798 view
นโยบายอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ 6 ด้านหลักของไต้หวัน

นโยบายอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ 6 ด้านหลักของไต้หวัน (Six Cores Strategic Industries) ประกาศโดยประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นนโยบายหลักในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่จะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของไต้หวันในอนาคต และมีเป้าหมายคือการสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจของไต้หวัน และกระจายอุตสาหกรรมหลักออกไปยังสาขาอื่น ๆ นอกเหนือจากเซมิคอนดักเตอร์ โดยรัฐบาลไต้หวันให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสามารถทางการผลิต กอปรกับการพัฒนาทักษะและภาษาของผู้ทำงานในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ให้มีความเชี่ยวชาญ โดยอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่

นโยบายอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ 6 ด้านหลักของไต้หวัน

  1. อุตสาหกรรมด้านข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิตอล: เป็นการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นอุตสาหกรรมหลักของไต้หวันอย่างเช่น เซมิคอนดักเตอร์ (semiconductor) ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไต้หวันอย่างมาก ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีอย่าง AIoT (Artificial Intelligence of Things) ในชีวิตประจำวันและในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังจะมีการพัฒนาด้านการส่งสัญญาณและติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย 5G เนื่องจากไต้หวันต้องการเป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการสื่อสารในขณะที่กำลังทำให้ไต้หวันเป็นจุดสนใจในด้านนวัตกรรมดิจิตอลของโลกรวมถึงการเป็นหลักสำคัญในห่วงโซ่อุปทานโลก 5G (5G global supply chain)
  2. อุตสาหกรรมการป้องกันความปลอดภัยระบบไซเบอร์: เนื่องจากไต้หวันต้องการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจการสื่อสารดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีการจัดตั้งองค์กรในการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลที่เพื่อเป็นการเสริมความแข็งแกร่งในความป้องกันและยกระดับความปลอดภัยโดยคาดว่าจะมีการร่วมมือกันขององค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงเพื่อสร้างความมั่นใจในระบบความปลอดภัยไซเบอร์ในอุตสาหกรรมห่วงโซ่โลก
  3. อุตสาหกรรมบริการทางสุขภาพ: อุตสาหกรรมบริการทางสุขภาพมีความสำคัญอย่างใกล้ชิดในการพัฒนาเศรษฐกิจไต้หวัน ซึ่งรวมถึงการให้บริการทางการแพทย์ การพัฒนายาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ การผลิตอุปกรณ์แพทย์ และการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นการยกระดับไต้หวันให้เป็นต้นแบบในการป้องกันโรคระบาดรวมถึงเป็นมาตรฐานในความแม่นยำและการควบคุมโรคระบาด
  4. อุตสาหกรรมพลังงาน: อุตสาหกรรมพลังงานเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ไต้หวันสนับสนุนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและใช้พลังงานทดแทนและพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการใช้พลังงานที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างความมั่นคงในเชิงพลังงานสำหรับประเทศในอนาคต นอกจากนี้ไต้หวันยังพยายามมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานพลังงานลมในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกโดยส่งเสริมและส่งออกผลิตภัณฑ์พลังงานลมแก่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค
  5. อุตสาหกรรมด้านกลยุทธ์และการป้องกันประเทศ: อุตสาหกรรมนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและยกระดับเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมอากาศยานรวมถึงการพัฒนาการผลิตพลังงานขับเคลื่อนยนต์ในอุตสาหกรรมภาคพื้นทางอากาศ ทางบก และทางทะเล นอกจากนี้ไต้หวันยังมีแผนพัฒนาอุตสาหกรรมภาคพื้นอวกาศโดยเป็นการพัฒนาดาวเทียมโคจรรอบโลกและอุปกรณ์ภาคพื้นดินเพื่อแสดงถึงจุดยืนในการเป็นแหล่งจัดหาสำคัญในอุตสาหกรรมการบินโลกและอวกาศ
  6. อุตสาหกรรมด้านคลังสินค้า: เป็นกำหนดการในการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดหาทรัพยากรที่สำคัญในคลังสินค้าให้เพียงพอในส่วนของ พลังงาน อาหาร ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องบรรเทาภัยพิบัติรวมไปถึงการควบคุมวัตถุดิบที่สำคัญเพื่อความมั่นคงและเผื่อใช้ในยามฉุกเฉิน

นโยบายอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ 6 ด้านหลักของไต้หวัน

ADVERTISEMENTLittle Thai Alley