ไต้หวันจัดงานสัมมนาเทคโนโลยีและดิจิทัลยุคใหม่ในงาน WCIT 2017

ไต้หวันจัดงานสัมมนาเทคโนโลยีและดิจิทัลยุคใหม่ในงาน WCIT 2017

วันที่นำเข้าข้อมูล 31 ต.ค. 2560

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 พ.ย. 2565

| 1,376 view

           เมื่อวันที่ 11-13 ก.ย. 2560 ที่ผ่านมา ไต้หวันได้จัดงานสัมมนาระดับโลก " World Congress on Information Technology 2017 หรือ WCIT 2017" โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง Ministry of Economic Affairs ไต้หวัน กับ World Information Technology and Services Alliance และได้รับการสนับสนุนจาก Taiwan Electrical and Electronic Manufacturers' Association, Information Service Industry Association (CISA), Taipei Computer Association, Taiwan WTO&RTA Center Chung Hua Institution for Economic Research และ Cloud Computing Association in Taiwan ที่ Taipei International Convention Center ไทเป โดยมีจุดประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT การใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีและดิจิทัลในยุค Internet of thing (IoT)

            โดยในงาน WCIT 2017 ได้มีการหารือในประเด็นที่น่าสนใจต่าง ๆ อาทิ

          1) หัวข้อ "การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมและรัฐบาล - ในยุคเทคโนโลยีดิจิตอลปัจจุบัน"

(Industry and Government Transformations-Embracing Digital Technologies in Real Time) ดำเนินสัมมนาโดย นาย Ming-Yen Hsu, Sr. Director of Engineering, Communications, Data and Search, Oath

วิทยากรโดย นาย Tony Scott, Former US CIO, Executive Office of President, Dr. Tien Wu / Director & COO, ASE Group, นาย Kuo-Lieh Tseng / Chairman, E.Sun Bank : หารือในประเด็นความท้าทายที่ต้องเผชิญกับเปลี่ยนแปลงทางระบบดิจิทัลของอุตสาหกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนควรให้ความสนใจ เรียนรู้เพื่อนำระบบดิจิทัลปรับและนำมาใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ การทำงานผ่านระบบ Application ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ และพัฒนาระบบ Costumer service หรือการนำนวัตกรรมมาพัฒนาเพื่อให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย

            นอกจากนี้ ควรเพิ่มการเรียนรู้ในการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการระหว่างภาครัฐและเอกชนให้มากขึ้น โดยภาครัฐสามารถเรียนรู้ระบบเทคโนโลยีและดิจิทัลของอุตสาหกรรมจากภาคเอกชน และภาครัฐควรมีโครงการผลักดันภาคเอกชนให้ก้าวสู่เวทีโลก

         

               2) หัวข้อ "Disruptive Innovation" ดำเนินสัมมนาโดย นาย Greg Unsworth , Risk Assurance and Digital Business Leader, PWC Singapore Moderator Nigel Jacob, Co-Founder, Mayor's Office of New Urban Mechanics, Boston's City Hall, นาย Stephen King / Partner, Omidyar, นาย Ming-Kai Tsai / Chairman of MediaTek, นาย Morris Li / Vice Chairman, CTBC Bank : หารือเรื่องนวัตกรรมลักษณะ             "Disruptive Innovation" คือการที่ Startups ที่มีนวัตกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมการบริการใด ๆ    

ที่สามารถทำให้อุตสาหกรรมหรือธุรกิจในด้านนั้นที่มีอยู่ ในปัจจุบันเกิดการสั่นสะเทือนหรือกระทั่งเข้ามาแทนที่ ผลิตภัณฑ์หรือการบริการ นั้น ๆ ในตลาด อาทิ 'เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล'เข้ามาแทนที่ 'เมนเฟรมคอมพิวเตอร์' หรือในตลาดดนตรี 'เพลงแบบดิจิตอล' ได้เข้ามาแทนที่ 'แผ่น CD' ฯลฯ

            ซึ่งในการหารือได้กล่าวถึง ช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีเกิดการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่ผ่านมา Startups ที่มี Disruptive Innovation เกิดขึ้นมากมาย อาทิ ธนาคาร CTBC Bank ได้ริเริ่มพัฒนา AI (Artificial Intelligence) เพื่อนำมาใช้ใน Application เพื่อการบริการที่ดียิ่งขึ้น บริษัท Alibaba ได้ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ตมาพัฒนาเพื่อตีตลาดโลกออนไลน์ เป็นต้น

            Disruptive Innovation ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อบริษัทหลายแห่ง ดังนั้น ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ ควรมีการตื่นตัวและเข้าใจถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น มีการปรับตัวเพื่อตั้งรับและเรียนรู้สถานการณ์ที่ประสบมาเพื่อปรับนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งการสื่อสารระหว่างภาครัฐกับเอกชนก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน

          3) หัวข้อ "เปิดวิสัยทัศน์และจินตนาการผ่าน VR / AR / MR* ในอนาคต" (Future vision and imagination of VR/AR/MR) ดำเนินสัมมนาโดย นาย Bjorn Book-Larsson, Head of Product, Viveport, HTC Vive Moderator,นาย Eiji Araki / VP of Social Games, GREE, นาย Tristan Ruoli Dai / CTO, Noitom,  นางสาว Alice H. Chang / Founder & CEO, Perfect Corp : หารือและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับธุรกิจที่มีการนำนวัตกรรม VR (Virtual Reality) / AR (Augmented Reality) / MR (Mixed Reality) เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น อาทิ บริษัท GREE จากญี่ปุ่น และ บริษัท Noitom จากจีน  ซึ่งเป็นบริษัทเกม ได้นำนวัตกรรม VR และ MR เข้ามาประยุกต์ใช้เข้ากับเกมรุ่นใหม่เพื่อสร้างสรรค์เกมต่าง ๆ ให้เสมือนจริง เพื่อเพิ่มความสนุกให้กับลูกค้าได้รู้สึกเสมือนจริงเวลาเล่นเกมมากยิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาระบบ Application ของโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง

            อีกทั้ง บริษัท Perfect Corp ไต้หวันซึ่งเป็นบริษัทแฟชั่นและเสื้อผ้าได้นำนวัตกรรม AR เข้ามาประยุกต์ใช้ในการเลือกสินค้า โดยลูกค้าสามารถเลือกเปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อทดลองสวมใส่ผ่านนวัตกรรม AR รวมถึงเลือกเครื่องสำอางค์เพื่อทดลองแต่งหน้าโดยจะเปลี่ยนสีเท่าไหร่ก็ได้ นอกจากนี้ ควรเพิ่มการเรียนรู้ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น เพื่อการพัฒนานวัตกรรมให้ตรงจุดและความยั่งยืนในอนาคต

            ทั้งนี้ งานสัมมนา WCIT 2017 ได้เน้นการแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวโน้มทางการค้าและเศรษฐกิจ รวมถึงแนวทางต่าง ๆ ในการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคเทคโนโลยีและดิจิทัล เพื่อความเข้าใจด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมกับนานาประเทศต่อไป

*ข้อมูลเพิ่มเติม

          VR หรือ Virtual Reality คือ เทคโนโลยีที่ต้องใช้ควบคู่กับอุปกรณ์แว่นตา ซึ่งจะทำให้เราสามารถมองเห็นภาพเสมือนจริง โดยเราต้องมองผ่านแว่นตาที่ทำหน้าที่แสดงภาพแทนหน้าจอปกติเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ กำลังผลักดันให้ VR สามารถประยุกต์ใช้งานกับเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น อาทิ เกม ภาพยนตร์ การศึกษา เป็นต้น

          AR หรือ Augmented Reality คือการนำเอาภาพกราฟฟิกต่าง ๆ มาผสมเข้ากับโลกความเป็นจริง

อาทิ การแสดงภาพโฮโลแกรม หรือการแสดงภาพเส้นเลือดภายใต้ผิวหนังของเราจากเครื่องอ่านผล

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้กล้องมือถือถ่ายภาพที่มีการจัดทำเฉพาะจะปรากฎภาพกราฟฟิก 3 มิติ ขึ้นมา               

          MR หรือ Mixed Reality คือ เทคโนโลยีการประมวลผลภาพที่สามารถรวมโลกจริงและโลกเสมือนเข้าได้ด้วยกันได้อย่างแนบเนียน มีภาพที่มีรายละเอียดชัดเจนของสภาพแวดล้อมจริงเข้ากับภาพ CG  ที่สามารถสร้างและเปลี่ยนแปลงได้ตามต้องการ ผ่านระบบการทำงานจากกล้องวิดีโอสองตัวที่ติดอยู่บน Head-Mounted Display (HMD) หรืออุปกรณ์แสดงภาพที่ผู้ใช้ต้องสวมครอบอยู่บนศีรษะ กล้องวิดีโอสองตัวจะอยู่ที่ด้านหน้า ทำหน้าที่จับภาพจริงที่ตามองเห็นเพื่อส่งไปยังคอมพิวเตอร์ในตำแหน่งที่กำหนดให้มีภาพ CG เกิดขึ้นตามเครื่องหมายในกรอบสี่เหลี่ยมที่วางอยู่ตามจุดต่าง ๆ

            ซึ่งภาพจะแตกต่างจาก AR (Augmented Reality) ที่เพียงแค่วางซ้อนภาพ CG บนสภาพแวดล้อมจริงเท่านั้น แต่ MR จะทำให้ผู้ใช้มองเห็นภาพ CG ขนาดเท่าของจริง ในสภาพแวดล้อมจริงจากทุกมุมมองได้อย่างไร้รอยต่อ นอกจากนี้ระบบ MR ออกแบบให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับภาพเสมือนได้ โดยผ่านไม้เซ็นเซอร์เพื่อรับการเคลื่อนไหวของมือ และเลือกชิ้นส่วนที่ต้องการโต้ตอบได้ตามโปรแกรมที่ตั้งเอาไว้

            โดย ระบบ MR สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย อาทิ แผนที่พิพิธภัณฑ์ แผนผังเครื่องจักรในอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งผู้คนสามาถเดินชมโรงงาน ดูสายการผลิตและระบบความปลอดภัยที่ออกแบบไว้ได้ หรือสามารถนำไปใช้ในงานออกแบบตกแต่งภายในของบ้านได้อีกด้วย

 

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ : http://www.wcit2017.org

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ