นโยบาย New Southbound : วิเคราะห์ผลลัพธ์จากการดำเนินนโยบาย New Southbound

นโยบาย New Southbound : วิเคราะห์ผลลัพธ์จากการดำเนินนโยบาย New Southbound

วันที่นำเข้าข้อมูล 17 ก.ค. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 2,190 view

          รัฐบาลไต้หวันได้เน้นความร่วมมือผ่านนโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southbound) 4 ด้าน ได้แก่ 1. ความร่วมมือด้านการค้า 2. การแลกเปลี่ยนบุคลากรที่มีทักษะความสามารถ 3. การแบ่งปันทรัพยากรและ 4. การเชื่อมโยงในภูมิภาค เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนในประเทศในอาเซียนและประเทศในเอเชียใต้

          เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2561 Taiwan ASEAN Studies Center ร่วมกับ Chinese National Federation of Industries (CNFI) จัดการสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและประเด็นสำคัญต่าง ๆ จากการวิเคราะห์ผลลัพธ์จากการดำเนินนโยบาย New Southbound ในประเทศเป้าหมายที่อาจส่งผลกระทบต่อไต้หวัน รวมถึงวิเคราะห์ผลที่เกิดจากนโยบายมุ่งใต้ใหม่ในระยะเวลาที่ผ่านมา

            ทั้งนี้ ในการงานสัมมนาฯ ได้มีการเชิญวิทยากรผู้มีประสบการณ์มาบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้

          1. การวิเคราะห์ทิศทางของประเทศเป้าหมายที่ส่งผลดีต่อไต้หวัน

บรรยายหัวข้อโดย นาย Zhuang Yi-qi, Professor of National Chengchi University และนาย Lin Xianshen, Associate Professor of Department of East Asian Studies of National Taiwan Normal University :

            ทิศทางของประเทศเป้าหมาย ได้แก่ อาเซียนและอินเดีย ที่ส่งผลกระทบกับไต้หวันและส่งเสริมนโยบาย New Southbound ในด้านที่ดีมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นการขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าในอนาคตของผู้ประกอบการไต้หวัน

            ประเทศในอาเซียน เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม มีตำแหน่งว่างสำหรับบุคลากรมืออาชีพจำนวนมาก อาทิ ด้านป้องกันการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ด้านเทคโนโลยียานยนต์ การบริการทางการแพทย์ เป็นต้น ทั้งนี้ ไต้หวันสามารถสร้างความร่วมมือในด้านดังกล่าว เพื่อขยายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

            สำหรับอินเดียต้องการการส่งเสริมด้านนโยบายสีเขียว (Green Policy) ซึ่งไต้หวันมีผลิตภัณฑ์ส่งเสริมด้านพลังงานสีเขียวที่สามารถสร้างความร่วมมือร่วมกันได้ในอนาคต ส่งผลดีต่อการพัฒนาของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง

            นอกจากนี้ สำหรับการก้าวสู่ตลาดเป้าหมายนั้นควรศึกษาทิศทางความต้องการของประเทศเป้าหมายอย่างชัดเจน เพื่อผลักดันไต้หวันให้ก้าวสู่เวทีโลกในอนาคตมากยิ่งขึ้น

          2. การวิเคราะห์ผลลัพธ์ของนโยบาย New Southbound ดำเนินการสัมมนาโดย นาย Wu, Chung-Shu, President of Chung-Hua Institution Economic Research และวิทยากรโดย นาย Chung, Chia-Pin, Committee Member of Legislative Yuan, นาย Chuang Suo-hang, Vice Chairman of Taiwan External Trade Development Council, นาย Chung, Chia-Pin, Committee Member of Legislative Yuan, นาย Andrew Hsia, Chairman, Association of Foreign Relations (AFR), นาย Han Jiayu, Chairman of Dachan Great Wall Group :

            ผลลัพธ์ของนโยบาย New Southbound เป็นไปในทางที่ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยว การลงทุนกับประเทศเป้าหมาย การส่งออกผลิตภัณฑ์ของไต้หวันและการแลกเปลี่ยนทางด้านการศึกษาโดยในอนาคต ไต้หวันควรมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนนักศึกษาแพทย์กับประเทศในอาเซียน เพื่อสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และบุคคลากรด้านการแพทย์มืออาชีพมากยิ่งขึ้น

            นอกจากนี้ ไต้หวันควรจะพยายามเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความร่วมมือด้านการค้า RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) และ TPP (Trans-Pacific Partnership) รวมถึงโครงการของ Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB)

            การเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือดังกล่าวไม่เพียงแต่จะนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่น่าพอใจ แต่จะช่วยพัฒนาช่องว่างทางการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย รวมทั้งส่งเสริมความมั่นคงด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค

 

 

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ