วันที่นำเข้าข้อมูล 19 ม.ค. 2567
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 ก.ย. 2567
ในโลกของธุรกิจสมัยใหม่ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการทำธุรกิจร่วมกับความยั่งยืนถือเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยเฉพาะประเทศในแทบยุโรปที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการลดคาร์บอนเป็นอย่างมาก สหราชอาณาจักรก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีการดำเนินมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน หรือที่รู้จักกันในชื่อ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism)เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป วันนี้ThaibizTaiwanจะพาทุกท่านมาดูว่าภาคเอกชนไต้หวันตื่นตัวและมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการประกาศ CBAM ของอังกฤษรวมทั้งสหภาพยุโรปอย่างไร
จุดเริ่มต้นของ CBAM UK
จุดเริ่มต้นของ CBAM UK ก็เหมือนกับการประกาศ CBAM ของสหภาพยุโรป เพื่อส่งสัญญาณให้นานาประเทศให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ตลอดจนเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ให้เสียเปรียบด้านราคาต่ออุตสาหกรรมที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน นอกจากนั้น รัฐบาลสหราชอาณาจักรจะดำเนินการจัดเก็บภาษีคาร์บอนสำหรับสินค้านำเข้าบางประเภทภายในปี ค.ศ. 2027 เพื่อช่วยปกป้องธุรกิจภายในประเทศจากสินค้านำเข้าราคาถูกซึ่งมีที่มาจากประเทศที่มีการกำหนดภาษีคาร์บอนต่ำหรือไม่มีเลย
CBAM UK มีกลไกลทำงานอย่างไร
CBAM UK ทำงานเหมือนกำแพงภาษีโดยการคำนวนภาษีจะมีอยู่ 2 ส่วนได้แก่
การดำเนินการในปัจจุบัน
ในปีนี้ รัฐบาลอังกฤษกำลังมีการหารือเกี่ยวกับการออกแบบระบบ CBAM กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอาทิ, ภาคธุรกิจที่มีการส่งเสริมตลาดสินค้าคาร์บอนต่ำ แนวทางการติดฉลากผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานและการรายงานการปล่อยมลพิษแก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลการส่งออกสินค้าของไต้หวันล่าสุดที่อาจจะเข้าข่าย UK CBAM
แผนภูมิด้านล่างแสดงชนิด มูลค่า และปริมาณสินค้าส่งออกจากไต้หวันไปยังสหราชอาณาจักรระหว่างเดือน มกราคม - พฤศจิกายน 2567 ที่น่าจะเข้าข่าย UK CBAM (ข้อมูลจากกระทรวงการคลังไต้หวัน)
จากแผนภูมิพบว่า สินค้าส่งออกจากไต้หวัน 3 รายการที่เข้าข่ายได้แก่
ความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการไต้หวันต่อ UK CBAM
แม้ปัจุบัน ในไต้หวันจะยังไม่มีการพูดถึง UK CBAM อย่างแพร่หลายมากนัก แต่ก็มีบางบริษัทให้ความเห็น ดังนี้
บทสรุป การจัดตั้งระบบ CBAM ของสหราชอาณาจักร ไปเป็นตามวัตถุประสงค์เดียวกันกับสหภาพยุโรปที่ต้องการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศจากการดำเนินการที่จริงจังเรื่องสิ่งแวดล้อม การดำเนินการนี้เป็นสัญญาณที่บอกให้ประชาคมโลกต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับความท้ายทายครั้งใหม่ ซึ่งน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในปี ค.ศ. 2027 ที่จะมีการจัดเก็บภาษีคาร์บอนเป็นครั้งนี้ อย่างไรก็ดี ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศอื่น ๆ ก็น่าจะออกกฎระเบียบหรือมีการจัดตั้งกลไกทางการค้าที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน การปรับตัวของภาคเอกชนไต้หวัน ซึ่งพึ่งพาการส่งออกชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักเช่นเดียวกับประเทศไทย น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีและให้ข้อคิดต่อการดำเนินงานของภาคเอกชนไทยได้ในอนาคต