เสื้อผ้ามือสองมีค่ามากกว่าแค่ทิ้ง

เสื้อผ้ามือสองมีค่ามากกว่าแค่ทิ้ง

วันที่นำเข้าข้อมูล 4 ก.ย. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 4 ก.ย. 2566

| 3,392 view
เสื้อผ้ามือสองมีค่ามากกว่าแค่ทิ้ง

ในปัจจุบันกระแสความนิยมเสื้อผ้าเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วตามกระแสสังคมโดยเฉพาะเสื้อผ้าที่เป็นฟาสต์แฟชั่นที่กำลังมาแรงและเป็นที่นิยมในปัจจุบันด้วยรูปแบบเสื้อผ้าและราคาที่จับต้องได้ ทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอมีการเติบโตเพิ่มมากขึ้นในเวลาอันรวดเร็วรวมไปถึงมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นผลให้มีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ตามกระแสสังคม โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น เกิดการละทิ้ง ผลัดเปลี่ยนรูปแบบของเสื้อผ้าเพื่อตามกระแสนิยมที่เปลี่ยนไปเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงยังส่งผลกระทบต่อร้านเสื้อผ้าทั้งแบบค้าปลีกและค้าส่งจำนวนมากที่สินค้าภายในร้านมีสินค้าคงค้างเป็นจำนวนมากทำให้เสื้อผ้าบางส่วนอาจจะต้องถูกนำไปทิ้งหรือเผาทำลาย ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากมลพิษทางอากาศได้เช่นกัน

เนื่องจากไต้หวันมีนโยบาย Net Zero Emission 2050 ที่มีเป้าหมายในการลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมจึงได้มีโครงการจัดตั้งตู้เสื้อผ้ารีไซเคิลโดยมีการตั้งตู้รับเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วตามแหล่งต่าง ๆ ของชุมชนโดยมีความเชื่อที่ว่าเสื้อผ้าที่ถูกใช้แล้วหรือไม่เป็นที่ต้องการสามารถนำกลับมาทำใหม่และสามารถนำกลับมาเพิ่มมูลค่าให้กลับมาเป็นแฟชั่นได้อีกครั้ง เน้นบทบาทของการรีไซเคิลในการอนุรักษ์ทรัพยากร ลดการใช้พลังงาน และลดรอยพิมพ์คาร์บอนที่เกิดจากการผลิตเสื้อผ้า รวมทั้งเสริมสร้างแรงบันดาลใจและนวัตกรรมในการแฟชั่นที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 5 ก.ค. คณะกรรมการสหภาพยุโรปได้ประกาศกฎใหม่เพื่อสนับสนุนเกี่ยวกับความยั่งยืนทางด้านการจัดการสิ่งทอในการดูแลความรับผิดชอบของผู้ผลิต เนื่องจากในปัจจุบันการบริโภคสิ่งทอเป็นปัจจัยที่สร้างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมสูงเป็นอันดับที่ 4 ที่สามารถส่งผลต่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกด้วยเช่นกัน โดยกฎใหม่ที่ทางคณะกรรมการสหภาพยุโรปได้ตั้งขึ้นใช้เพื่อให้ทางผู้ผลิตรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจากการทิ้งผลิตภัณฑ์สิ่งทอตามผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม

เสื้อผ้ามือสองมีค่ามากกว่าแค่ทิ้ง

เงาของปัญหาเสื้อผ้ามือสองที่หลายคนมองไม่เห็น

ในปัจจุบันมีการผลิตเสื้อผ้าหลากหลายรูปแบบเกิดขึ้นมาตามกระแสนิยมของคนในยุคปัจจุบันปรับเปลี่ยนไปตามกระแสสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เสื้อผ้าเก่าทั้งหลายจะถูกนำไปสนับสนุนการดำเนินการขององค์กรสวัสดิการสังคมโดยขายต่อเป็นเงินสดและยังสามารถบริจาคแก่ผู้ด้อยโอกาสมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดธุรกิจการซื้อขายเสื้อผ้ามือสองขึ้นเป็นจำนวนมากทั้งแบบออนไลน์และเปิดหน้าร้านขายทั่วไปรวมถึงการส่งออกของเสื้อผ้ามือสองไปขายและส่งไปยังประเทศที่ขาดแคลนเสื้อผ้าหรือประเทศที่สามารถปรับเปลี่ยนเสื้อผ้าให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ซึ่งเป็นการกำจัดเสื้อผ้าวิธีหนึ่ง แต่เมื่อหลังจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 เมื่อห่วงโซ่อุตสาหกรรมขาดลงทำให้ธุรกิจเสื้อผ้ามือสองเริ่มทยอยปิดธุรกิจแต่ผู้คนยังคงส่งต่อเสื้อผ้าใช้แล้วทำให้กองทุนต้องออกค่าใช้จ่ายเองรวมถึงค่าขนส่งที่เกิดขึ้นทำให้จากที่เป็นตัวกระคุ้นเศรษฐกิจมาเป็นภาระขององค์กร โดยเฉพาะค่าขนส่งที่สูงขึ้นส่งผลต่ออุตสาหกรรมรีไซเคิลเสื้อผ้าทำให้ไม่สามารถส่งออกได้เนื่องจากไม่คุ้มทุนร่วมด้วยการเพิ่มภาษีนำเข้าของประเทศผู้นำเข้าเสื้อผ้ามือสองเพื่อจำกัดการนำเข้าและปกป้องอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศตนและบางที่กลับเปลี่ยนมาเป็นผู้ส่งออกแทนทำให้ปริมาณการนำเข้าลดลงแต่จำนวนผู้แข่งขันการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอหลายรายเลือกที่จะเผาทำลายแทนการส่งออกทำให้สัดส่วนของเสื้อผ้าที่ขายเป็นเสื้อผ้ามือสองได้ลดลง

ทำไมเสื้อผ้ารักษ์โลกถึงราคาไม่น่ารัก

อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอเป็นปัจจัยสูงอันดับสี่ในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่อากาศซึ่งเป็นปัจจัยส่งผลต่อสภาวะโลกร้อนจากการเผาหรือทำลายเสื้อผ้าที่เหลือจากการขาย ไม่เป็นที่ต้องการในการใช้งาน หรือหมดประโยชน์จากการใช้งาน เสื้อผ้ามือสองหรือเสื้อผ้าที่ถูกทิ้งเหล่านี้กลายเป็นขยะจำนวนมหาศาลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากสสารหลังการเผาที่ไม่สามารถย่อยสลายได้หมดอันเนื่องมาจากการผลิตจากหลากหลายองค์ประกอบซึ่งยากต่อการย่อยสลายหรือนำมารีไซเคิลมาเป็นเสื้อผ้าใหม่นำมาซึ่งต้นทุนที่สูงขึ้นและต้องใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการนำมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้วยเหตุนี้จึงมีการส่งเสริมการใช้วัสดุชนิดเดียวเพื่อสามารถทำให้รีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ง่าย ลดความซับซ้อนของวัสดุ และลดพลังงานหรือการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยส่วนมากจะใช้พลาสติก PET มาเป็นวัสดุรีไซเคิลทดแทน อย่างไรก็ตามการรีไซเคิลต้องใช้ต้นทุนที่สูงขึ้นจากกระบวนการในแต่ละขั้นตอนทำให้ค่าใช้จ่ายในการใช้วัสดุรีไซเคิลเพิ่มขึ้น 30-50 % แต่จากการสำรวจคนไต้หวันยินดีที่จะจ่ายเพิ่มอยู่ที่ 10% ของงบประมาณทำให้ปริมาณความต้องการลดลงและเสี่ยงต่อการเป็นขยะอีกครั้ง

ESG และ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าในไต้หวัน

ESG (Environmental, Social, and Governance) คือสิ่งที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่นกำหนดให้ธุรกิจเสื้อผ้าดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยส่งผลกระทบเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อม

  1. ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (E - Environmental): อุตสาหกรรมเสื้อผ้าในไต้หวันก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนปริมาณมากในกระบวนการผลิต การใช้สารเคมีในการย้อมสีและการผลิตน้ำเสียที่ไม่เหมาะสมสามารถก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม หากธุรกิจเสื้อผ้าในไต้หวันพยายามลดการใช้พลังงานและน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต ในเครื่องมือตรวจสอบความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมอาจช่วยให้ธุรกิจเสื้อผ้าเป็นที่ยอมรับในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  2. ผลกระทบทางสังคม (S - Social): การทำธุรกิจในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าในไต้หวันต้องใส่ใจถึงสังคมในเชิงต่าง ๆ เช่น การทำงานที่เป็นมิตรกับคนงาน การให้โอกาสและสิทธิพิเศษในการทำงาน และการสร้างงานหรือเพิ่มโอกาสให้กับคนที่อยู่ในชนชั้นที่มีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในการให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชน และการทำธุรกิจอย่างส่งเสริมความควบคู่ของคนและสิ่งแวดล้อม
  3. การบริหารจัดการ (G - Governance): การบริหารจัดการที่ดีเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจเสื้อผ้าในไต้หวัน ต้องมีการบริหารที่โปร่งใสและปฏิบัติตามกฎหมาย มีการเผยแพร่ข้อมูลอย่างถูกต้องและให้ความสำคัญในความโปร่งใส นอกจากนี้ยังมีการดำเนินการทางการเมืองที่เป็นธรรมในด้านการเก็งกำไร การสัมพันธ์กับส่วนของผู้บริโภค และการสร้างความน่าเชื่อถือในตลาดในระยะยาว

เสื้อผ้ามือสองมีค่ามากกว่าแค่ทิ้ง

ADVERTISEMENTLittle Thai Alley

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ