ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ช่วยทุบสถิติการส่งออกของศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ไต้หวัน

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ช่วยทุบสถิติการส่งออกของศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ไต้หวัน

วันที่นำเข้าข้อมูล 14 มิ.ย. 2560

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 พ.ย. 2565

| 1,384 view

          การส่งออกเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และการผลักดันสินค้าที่เป็นจุดแข็งของประเทศให้ก้าวสู่ตลาดโลกก็เป็นวิธีเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างเวทีให้แก่ผู้ประกอบการไต้หวัน

          สำนักข่าว Economic Daily News รายงานเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2560 ว่า ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ไต้หวัน (科學園區) ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อพัฒนาการวิจัยและเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ โดยมีสถานที่ตั้งทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ Hsinchu Science Park เมืองซินจู๋ / Southern Taiwan Science Park เมืองไถหนาน /และ Central Taiwan Science Park เมืองไถจงได้ส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยในปี 2559 การส่งออกของศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 แห่งรวมมีมูลค่ากว่า 2.6 ล้านล้านบาทไทย (2.37 ล้านล้าน TWD)  เติบโตขึ้น ร้อยละ 2.9 ซึ่งเฉพาะในส่วนของการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่ากว่า 1.65 ล้านล้านบาทไทย  (1.5 ล้านล้านTWD) เติบโตขึ้นร้อยละ 9.9 ซึ่งทำลายสถิติที่เคยมีมา และคาดว่ายอดการส่งออกไปต่างประเทศในปีนี้จะสูงถึง 2.64 ล้านล้านบาทไทย (2.4 ล้านล้าน TWD)

            นายชิว ฉิวฮุ่ย (邱求慧) ผู้อำนวยการ Department of Academia-Industry Collaboration and Science Park Affairs กล่าวว่า เมื่อปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลก (GDP) มีอัตราต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีมา  ซึ่ง GDP ของไต้หวันเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.5 ต่อปีเท่านั้น แต่ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ไต้หวันกลับมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 2.9 ต่อปี

            นายชิว ยังวิเคราะห์ด้วยว่า เนื่องจากปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่มียอดขายสูง อีกทั้งคอมพิวเตอร์พกพา อุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ล้วนเป็นที่ต้องการของตลาดโลกส่งผลให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงถึง 1.65 ล้านล้านบาทไทย (1.5 ล้านล้าน TWD) ประกอบกับมีการสั่งผลิต semiconductor มากขึ้น ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติก็เป็นที่ต้องการมากขึ้นเช่นกัน

      

  "สถานการณ์รายได้ต่อปีของศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์" ขอบคุณภาพจาก : เว็บไซต์ [https://udn.com/ news/story/7240/2356987                                                                  

 "แผนที่ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์เขต ซินจู่ ไต้หวัน" ขอบคุณภาพจาก : เว็บไซต์ Hsinchu Science Park Bureau, Ministry of Science and Technology  [http://www.sipa.gov.tw/file/ef.html]

         

                                                                                                                                                             

            นอกจากนี้ สำนักข่าว Apple daily ได้รายงาน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้ให้แก่ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ไต้หวันมากที่สุด คือ เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพด้านความแม่นยำ (Precision machinery / 精密機械) เติบโตอัตราร้อยละ 19.32 ต่อปี/อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology industry / 生物技術產業) เติบโตอัตราร้อยละ15.25 ต่อปี/และแผงวงจรไฟฟ้า  (Integrated Circuit / IC) เติบโตอัตราร้อยละ 8.67 ต่อปีโดยในส่วนของ IC ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการส่งออกสูง ได้แก่ แผ่นชิพ ขนาด 16 nm (Nanometre)20 nm และ 28 nm

            เมื่อปลายปี 2559 ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ไต้หวันมีพนักงานจำนวนรวมทั้งสิ้น 269,041 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

            จากรายงานข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ส่วนสำคัญที่ผลักดันการเติบโตด้านการส่งออกในภาพรวมของไต้หวันคือ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและทันสมัย และในอนาคตคาดว่ารัฐบาลไต้หวันจะให้การสนับสนุนและผลักดันการส่งออกในผลิตภัณฑ์สินค้าประเภทนี้มากขึ้น

 

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

- เว็บไซต์ ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ไต้หวัน (科學園區)  http://www.asip.org.tw/