เทคโนโลยีชีวภาพของไต้หวันค้นพบวิธีรักษาเส้นประสาทสมอง

เทคโนโลยีชีวภาพของไต้หวันค้นพบวิธีรักษาเส้นประสาทสมอง

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 ก.พ. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 2,028 view

     เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2561 สนข. Taipei Time รายงานว่า สถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติไต้หวัน (The National Health Research Institutes / NHRI) ได้ทำการเพาะเลี้ยงนาโนเซลล์ (Nano-scale Substance) จาก Stem Cells ที่สามารถซ่อมแซมเส้นประสาทในสมองที่เสียหาย พร้อมปูเส้นทางสู่การต่อยอดการพัฒนาด้านการรักษาระบบประสาทและโรคความจำเสื่อม

     ด้วยการใช้เทคนิคที่ได้รับการจดทะเบียน ทีมนักวิจัย ซึ่งนำโดย นางสาว Li Hua-jung (李華容) ผู้ช่วยด้านการวิจัยในหน่วยงาน Institute of Cellular and System Medicine ของ NHRI ได้ให้ข้อมูลว่า "ทางทีมวิจัยได้ทำการสกัด Exosome ซึ่งมีสัญญาณของการฟื้นตัวจาก Stem Cell ที่อยู่ในไขมันตามร่างกาย (body fat) และไขกระดูก (Marrow Tissue)

     Exosome มีลักษณะเป็นถุง (Sacs) หรือ (Vesicle) ที่มีขนาดเล็กมากประมาณ 30 - 150 นาโนเมตร บรรจุของเหลวที่เป็น RNA ที่ซับซ้อน และโปรตีนจากเซลล์ โดย Exosome อยู่ในหลาย ๆ ที่ อาทิ ในของเหลวยูแคริโอต (Eukaryote)* ทั้งหมด รวมถึง เลือด ปัสสาวะและเซลล์อาหารเลี้ยงเชื้อ (Cultured Cell Mediums)

     ในฐานะที่เป็นสสารที่ทำให้เกิดการสื่อสารกันระหว่างเซลล์ Exosome ที่นำมาจาก Stem Cell จะส่งสัญญาณที่แตกต่างกัน ภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะสุขภาพดีหรือในภาวะที่มีพยาธิ"

     ทีมนักวิจัยของนางสาว Hua-jung ใช้เวลากว่า 5 ปี ในความพยายามที่จะใช้ประโยชน์จาก "ลักษณะการสื่อสารกัน (communication characteristic)" โดยการพัฒนา Exosome ที่พร้อมด้วยสรรพคุณในการรักษา ที่จะสามารถฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อทำหน้าที่เสมือน "ชุดปฐมพยาบาล (First-Aid Kits)" ช่วยซ่อมแซม  เส้นประสาทที่เสียหาย

     "ข้อแตกต่างจากการรักษาด้วย Stem Cell แบบเดิม คือ Exosome ไม่ใช่เซลล์ที่มีชีวิต ดังนั้น จึงไม่สามารถพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งได้ หลังจากฉีดเข้าไปในส่วนที่เสียหายของร่างกายที่ Exosome  จะต้องเข้าไปซ่อมแซม

     อย่างไรก็ตาม ต้องขอบคุณขนาดที่เล็กและโครงสร้างเป็นลิพิดของ Exosome ที่ทำให้สามารถแพร่กระจาย ในเส้นเลือดได้ง่าย และสามารถผ่านสมองไปสู่เส้นประสาทที่เสียหายของผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมได้" นางสาว Hua-jung กล่าวถึงกรณีตัวอย่าง

     ในการทดลองกับหนูทดลอง ทีมนักวิจัยพบว่า หนึ่งสัปดาห์หลังจากฉีด Special Exosomes เข้าไปในตัวหนูทดลองที่สมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampi)* ได้รับความเสียหาย เส้นประสาทที่ได้รับความเสียหายก็เริ่มเติบโตในจุดประสานประสาท (Synapse) กล่าวคือ โครงสร้างดังกล่าว ช่วยให้เส้นประสาท (Neuron) (หรือเซลล์ประสาท / Nerve cell) ติดต่อสื่อสารสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electrical) หรือทางเคมี ไปสู่เซลล์ประสาทในส่วนอื่น ๆ

     ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) เป็นส่วนประกอบของสมองที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความทรงจำใหม่ ๆ ซึ่งการหดตัวลงของ "ฮิปโปแคมปัส" ได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับโรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s disease)

     ในการทดลองกับหนูทดลอง ตัวเลขการทำงานของเซลล์ประสาทในส่วนฮิปโปแคมปัสนั้นแสดงผลว่า จากเดิมที่สัดส่วนที่มีสุขภาพดีเคยลดลงถึงร้อยละ 20 ได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 ภายในเดือนเดียว

 

     แม้ว่ามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford) จะได้ก่อตั้งสถาบันที่ทุ่มในการวิจัยเกี่ยวกับ Stem cells ที่ผลิต Exosome แต่ไต้หวันกลับเป็นที่แรกที่สามารถพัฒนาและสร้าง Restorative exosomes ได้อย่างประสบความสำเร็จ

     เทคนิคการเพาะเลี้ยงดังกล่าว ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้วในไต้หวัน และอยู่ระหว่างการขอนำไปใช้ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น

     นางสาว Hua-jung กล่าวว่า "แม้ว่าการวิจัย Exosome ของทีม จะจำกัดขอบเขตอยู่เพียงการรักษาโรค ทางระบบประสาท แต่ผลการวิจัยก็อาจสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการรักษาโรคเกี่ยวกับความเสื่อม (Degenerative Diseases)* หรือความเสียหายของอวัยวะต่าง ๆ อาทิ การปลีกตัวของเซลล์ การบาดเจ็บของสมอง และไขกระดูกสันหลัง โรคหลอดเลือดสมองหรือแม้แต่ความบกพร่องในการเรียนรู้ ได้อีกด้วย"

     ผลการวิจัยดังกล่าว ยังไม่ได้เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ แต่ได้รับการนำเสนอในงานสัมมนาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology Seminar) ซึ่งจัดขึ้นโดย NHRI เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับภาคเอกชน ในการส่งเสริมเทคโนโลยีชีวภาพที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของสถาบัน

     นางสาว Hua-jung อยู่ระหว่างเขียนรายงานสรุปผลการค้นคว้าของทีมวิจัย และหวังว่าจะสามารถหา Partner เพื่อต่อยอดเทคโนโลยีนี้ และจะได้สามารถดำเนินการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกและการพัฒนายารักษาโรคต่อไป

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

          สารยูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์

          ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) คือ ส่วนสำคัญของสมอง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างความทรงจำระยะยาวและการกำหนดทิศทางในที่ว่าง

          ไซแนปส์ (Synapse) คือ จุดประสานประสาท / บริเวณที่เซลล์ประสาทใช้ติดต่อสื่อสารกับเซลล์อื่น ๆ

          โรคเสื่อม (Degenerative disease) คือ โรคที่มีความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะลงเมื่อเวลาผ่านไป

 

 

ขอขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ : www.chanchao.com.tw/exhibitionfiles/news/DBIO_1098.PNG