เกาะกระแสเศรษฐกิจโลกในแถบเอเชียแปซิฟิก ณ ไต้หวัน

เกาะกระแสเศรษฐกิจโลกในแถบเอเชียแปซิฟิก ณ ไต้หวัน

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 ธ.ค. 2560

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 991 view

     การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกมีผลกระทบต่อแต่ละประเทศทั่วโลก การสร้างความร่วมมือกันระหว่างประเทศจึงเป็นสิ่งที่ทุกประเทศต่างตระหนักถึง เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตไปพร้อม ๆ กัน

     เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 Chinese Taipei Pacific Economic Cooperation Committee (CTPECC) และ Taiwan Institute of Economic Research (TIER) ได้ร่วมกันจัดงานสัมมนาระดับนานาชาติ  The 32nd Pacific Economic Community Seminar ในหัวข้อ "การแสวงหากลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Quest for Economic Growth Engines)"              ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ ไทเป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่อประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก

     ในการสัมมนาฯ นาย Chien-Fu Lin, Chairman, CTPECC/ President, Taiwan Institute of Economic Research ได้กล่าวเปิดว่า : "การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ทุกประเทศล้วนต้องมีการวางแผนเพื่อผลักดันและพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโต การสัมมนาฯ ในปีนี้จะเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเป็นประตูสู่กลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก โดยหนึ่งในนั้นได้แก่ การผลักดันให้ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership /TPP) ได้เกิดขึ้น และก้าวสู่การเป็น APEC Digital Economy"

ทั้งนี้ ในการสัมมนาฯ ได้มีการเชิญวิทยากรผู้มีประสบการณ์มาบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

     1.ช่วง Keynote Speaker

     1.1 การแสวงหากลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Quest for Economic Growth Engines) บรรยายโดย นาย Fukunari Kimura, Chief Economist, Economic Research Institute for ASEAN and East Asia :"ปัจจัย 3 ประการในการผลักดันให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนั้น ได้แก่ 1) ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกจะต้องผลักดันการบังคับใช้กฏระเบียบให้เกิดเขตการค้าเสรีให้มากขึ้น (Promote free trade agenda) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเปิดประเทศมากขึ้นและส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ (Open and Connected) 2) การเปิดเสรีและการมีระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศ (Liberalization and International rule) เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจที่พัฒนาซึ่งพร้อมจะก้าวสู่ความมีระเบียบในระดับสากล (Newly developed economies into a new international oder) 3) นอกจากการตระหนักถึงปัญหาเดิมที่มีอยู่ ควรเริ่มต้นคิดเกี่ยวกับประเด็นท้าทายใหม่ในเชิงรุกมากยิ่งขึ้นด้วย"

     2.ช่วง Panel Discussion

     2.1 การบูรณาการเศรษฐกิจในส่วนภูมิภาคและผลกระทบที่เกี่ยวข้อง (Regional Economic Integration and Relevant Effects) ดำเนินการสัมมนาฯ โดย นาย Lawrence Lee, Vice Chairman, CTPECC และผู้รับเชิญมาบรรยายหัวข้อสัมมนาฯ จากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ นาย Yih-Chyi Chuang, Professor, Department of Economics, National Chengchi University, นาย Andrew Elek, Research Associate, Australian National University Discussants, นาย Vo Tri Thanh, Chair, Vietnam National Committee for Pacific Economic Cooperation (VNCPEC), นาย Tan Ghee Giap, Chair, Singapore National Committee for Pacific Economic Cooperation (SINCPEC), นาย Chen-Sheng Ho, Director, Department of International Affairs, Taiwan Institute of Economic Research  โดยสรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้  : 

      "การบูรณาการเศรษฐกิจในส่วนภูมิภาคจะต้องตระหนักถึงการผลักดันในการสร้างความร่วมมือกันในกรอบ Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP ซึ่งเป็นกลุ่มความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค โดยมีกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับคู่ภาคี 6 ประเทศ (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) อาทิ การมีมาตรการในด้านที่เกี่ยวกับภาษี (Take action in the areas of tariffs) หรือมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร (Non-tariff measures) เป็นต้น เพื่อก้าวสู่เป้าหมาย Free Trade Area of the Asia-Pacific (FTAAP) ให้ได้ในอนาคต รวมถึงการพัฒนาในด้านการบริการ (Services) และการลงทุน (Investment) อีกด้วย  นอกจากนี้ ต้องวางแผนสร้างกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อป้องกันผลกระทบที่ตามมาจาก TPP เพื่อความยั่งยืนในอนาคตด้วย

      นโยบายมุ่งใต้ใหม่ของไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคประเทศเป้าหมาย โดยได้ตั้งเป้าหมายไว้ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจ 2) การแลกเปลี่ยนบุคลากรที่มีทักษะ 3) การแลกเปลี่ยนทรัพยากร 4) ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน เพื่อสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคต่อไป"                                           

      2.2 โอกาสและความท้าทายในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4* (The Opportunities and Challenges of the Fourth Industrial Revolution) ดำเนินการสัมมนาฯ โดย นาย Albert Ting, Vice Chairman, CTPECC และผู้รับเชิญมาบรรยายหัวข้อสัมมนาฯ จากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ นาย Stephen Ezell, Vice President, Information Technology and Innovation Foundation, นาย Antony H. C. Lee, Senior Project Manager, Metal Industries Research & Development Centre, นางสาว Kyungjin Song, President, Institute for Global Economics, Seoul, Korea Wangbor Chen, CEO, Bordao Co,นาย Can Van Luc, Chief Economist of BIDV and Director of BIDV Training School/Member of VNCPEC, นาย Eduardo Pedrosa, Secretary General, Pacific Economic Cooperation Councilโดยสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้  :   

           "ปัจจุบันการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ของประเทศต่าง ๆ ส่งผลให้ทุกภูมิภาคต่างจับตาดูความเปลี่ยนแปลงในการต่อยอดและผสมผสานของเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ที่จะนำมาพัฒนาภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโต อาทิ การพัฒนานโยบายส่งเสริม Digital/Technology นโยบาย Industry 4.0 นโยบายผลักดันด้านนวัตกรรมต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นกลไกที่สร้างโอกาสในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 มีหลายด้าน อาทิ อาชีพบางประเภทจะหายไป (Disappearing jobs) ส่งผลให้เกิดการว่างงานมากยิ่งขึ้น เกิดข้อจำกัดในด้านปริมาณสินค้าหรือการให้บริการ (Supply side constraints) เป็นต้น ดังนั้น จำเป็นต้องสร้าง Road Map ให้กับ Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจในภูมิภาคต่อไป"

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)

      - การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก (ปี 2327) ใช้น้ำและไอน้ำเป็นพลังงานในการผลิตแทนการใช้แรงงานคนและสัตว์

      - การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2 (ปี 2413) เปลี่ยนพลังงานที่ใช้ในการผลิตจากถ่านหินมาเป็นไฟฟ้า ก๊าซและน้ำมัน ใช้ระบบการผลิตแบบโรงงานโดยพัฒนาวิธีการผลิต มาเป็นระบบสายพานหรือระบบเทย์เลอร์ (Taylorism)

      - การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 3 (ปี 2512) ใช้อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) อินเตอร์เน็ตเข้ามาสร้างสรรค์ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น อาทิ ถอนเงินผ่าน ATM/จ่าย-โอนเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Pay-Online) เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน  ไม่ว่าจะเป็นวิถีการดำรงชีพ การทำงาน การประกอบอาชีพ การบริโภค ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล วัฒนธรรม รวมถึง ประสิทธิภาพในการผลิตสินค้ามีมากขึ้น จนทำให้ต้นทุนลดต่ำลง

      - การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ปัจจุบัน ได้มีการต่อยอดและผสมผสานของเทคโนโลยีหลายด้านที่เกิดขึ้น ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 ได้แก่ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotics) นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology: IT) การพิมพ์สามมิติ (3D Printing) ไบโอเทคโนโลยี (Biotechnology) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) พันธุวิศวกรรม (Genetic engineering)

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ