ไต้หวันเชิญผู้แทน สนง.ยุโรปในไต้หวันและมูลนิธิอินเดียถกประเด็นรักษ์โลก ณ Green Summit 2017

ไต้หวันเชิญผู้แทน สนง.ยุโรปในไต้หวันและมูลนิธิอินเดียถกประเด็นรักษ์โลก ณ Green Summit 2017

วันที่นำเข้าข้อมูล 11 ธ.ค. 2560

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565

| 1,035 view

   ในยุคที่ทุกประเทศต่างให้ความสำคัญในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ ส่งผลให้ในประเทศต่าง ๆ ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและพัฒนาในด้านพลังงานสีเขียวเพื่อมุ่งสู่การรักษ์โลกตามเป้าหมาย เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 หน่วยงาน Green Trade Project Office (GTPO) ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงเศรษฐการไต้หวัน ได้จัดงานประชุม 2017 Green Summit ซึ่งเน้นหัวข้อ "เศรษฐกิจหมุนเวียน : แนวโน้มและโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวโลก (Circular Economy : Trend and Prospect of Global Green Industry development)" ณ Taipei International Convention Center (TICC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจและอุตสาหกรรมพลังงานสีเขียวให้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจ ซึ่งหัวข้อนี้เป็นส่วนหนึ่งในนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม 5+2* ของรัฐบาลไต้หวัน

            ในการประชุมฯ นาย  Walter M. S. Yeh, President & CEO of Taiwan External Trade Development Council กล่าวเปิดงานว่า "เป็นโอกาสอันดีที่ไต้หวันได้มีโอกาสเชิญหน่วยงานจากประเทศต่าง ๆ อาทิ เยอรมนี อินเดีย สหราชอาณาจักร ฯลฯ มาเข้าร่วมประชุมฯ ซึ่งประเทศทั้งหลายต่างมีการศึกษาวิจัยแนวโน้มและโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวโลก นอกจากนี้ ไต้หวันได้มีการพัฒนาและวิจัยเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาโลกร้อนมาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ด้านพลังงานสีเขียวประสบความสำเร็จและสามารถกระจายส่งออกไปทั่วโลก"

โดยในงานประชุม ฯ มีหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่

            1.สรุปภาพรวมเศรษฐกิจในอินเดีย (Circular Economy in General and a Brief Snippet of the India Report) บรรยายโดย นาย Arpit Bhutani,India Focal pount และนางสาว Apoorva Arya,EMF India coordinator and economist ซึ่งมาจาก Ellen MacArthur Foundation :

"อินเดียได้มีการวางแผนสร้างระบบพลังงานสีเขียวแบบใหม่  โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาระบบรีไซเคิล รวมถึงการปลูกผักออร์แกนิก นอกจากนี้ ยังวางแผนพัฒนา 3 กลยุทธ์สำหรับตลาดบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั่วโลก ได้แก่ 30% การออกแบบขั้นพื้นฐานและนวัตกรรมพื้นฐาน (Fundamental Redesign&Innovation) / 20% การนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) / 50% การนำกลับมาใช้ใหม่บนฐานการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพ (Recycling with Radically improved Economics & Quality) "


            2.การพัฒนาและโอกาสในอุตสาหกรรมพลังงานสีเขียวในยุโรป (Developments and Trends of Green Industry in European Countries)โดยมีผู้แทนจากประเทศในยุโรปมาบรรยายสถานการณ์เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

ในหัวข้อดังกล่าว ดังนี้

            2.1 เศรษฐกิจหมุนเวียนในสหราชอาณาจักร (Circular Economy in UK) บรรยายโดย นาย Mandeep Singh-Gill หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ British Office, Taipei : "สหราชอาณาจักรอยู่ระหว่างวางแผนผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานสีเขียวให้ได้ผลมากที่สุด โดยมีการวางแผนโครงการรักษ์โลกในแบบนโยบายระยะยาว ผลักดันให้มีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งใหญ่ที่สุดในโลกกว่า 30 แห่ง ซึ่งพลังงานลมมีกำลังผลิตมากถึง 5.1GWs ติดอันดับ 1 ของโลกประจำปี 2560 อีกทั้งยังสนับสนุนให้นำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมพลังงานสีเขียวอีกด้วย"  

(ดูข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์: www.en.wikipedia.org/wiki/Wind_power_in_the_United_Kingdom)

            2.2 เศรษฐกิจหมุนเวียนในเยอรมนี (Circular Economy in German) บรรยายโดย นาย Martin Ebertsผู้แทน German Institute Taipei : "เยอรมนีได้มีการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อผลักดันการใช้พลังงานสะอาดโดยเป็นไปตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งยังวางแผนระยะยาวเพื่อสร้างระบบลดการใช้พลังงาน โดยมีการผลักดันกว่า 70 โครงการ อาทิ โครงการสร้างแบรนด์สีเขียว (Green Shape Label)  โครงการนำทรัพยากรกลับมาพัฒนาและใช้ใหม่ (Resources) เป็นต้น"


            2.3 เศรษฐกิจหมุนเวียนในเนเธอร์แลนด์ (Circular Economy in Netherlands) บรรยายโดยนาย Guy Wittich ผู้แทนและหัวหน้าสำนักงาน Netherlands Trade and Investment Office (NTIO) :"ปัจจุบัน เนเธอร์แลนด์ได้วางแผนลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายก่อนปี ค.ศ. 2030 จะลดจำนวนการใช้ทรัพยากรให้ได้ถึง 50% นอกจากนี้ ยังวางแผนสร้าง City Circular Scan/Green deal อีกทั้งกำลังพัฒนา Green Nature Park ใน Amsterdam Schiphol Airport‎ ให้กลายเป็นสนามบินที่มีการพัฒนาด้านการเกษตรในบริเวณลานสนามบิน เพื่อลดมลภาวะและพัฒนาพลังงานสีเขียวของประเทศให้ยั่งยืน"


            ในช่วงสุดท้ายของการสรุปภาพรวม วิทยากรในการสัมมนาฯ ได้สรุปว่า "รัฐบาลไต้หวันสนับสนุนการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศในด้านต่าง ๆ อาทิ ข้อมูลองค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์ด้านพลังงานสีเขียว ซึ่งนโยบายสีเขียว เป็นหนึ่งในนโยบายที่สามารถผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตได้ โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานสีเขียวนำองค์ความรู้หรือผลิตภัณฑ์ของประเทศต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมเพื่อผลักดันให้ธุรกิจด้านพลังงานสีเขียวเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

            ทั้งนี้ ควรต้องมีการพัฒนาการศึกษา ซึ่งต้องหล่อหลอมให้เยาวชนเข้าใจและตระหนักถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและการเสริมสร้างทักษะแนวคิดนวัตกรรม ซึ่งต้องมีการวางแผนนโยบายแบบระยะยาวเพื่อความยั่งยืนต่อไป"

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

            *นโยบายอุตสาหกรรม "5+2 Innovative Industries" ของรัฐบาลไต้หวันยุคปัจจุบัน ได้แก่ 1) Green Energy Technology  2) Biomedicine  3) Intelligent Machinery 4) National Defense 5) Aerospace และ +1) Development  of a New Agricultural Paradigm +2) Circular Economy ที่ควบคู่ไปกับการสร้าง “Asian Silicon Valley”  ในไต้หวัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไต้หวัน โดยการส่งเสริม Internet of Things (IoT) และ Innovation Industries รวมถึงผลักดันผู้ประกอบการ Startups ไต้หวันสู่เวทีโลก

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ