ไต้หวันแบนหลอดพลาสติก

ไต้หวันแบนหลอดพลาสติก

วันที่นำเข้าข้อมูล 6 ก.ค. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 883 view

         หลังจากที่ไต้หวันได้ประกาศห้ามร้านค้าทั่วไต้หวันงดให้ถุงพลาสติกแก่ลูกค้าตั้งแต่ในปี ค.ศ. 2002 ตามนโยบายพลังงานสีเขียว (Green Policy) ไต้หวันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยจะประกาศใช้นโยบายงดใช้หลอดพลาสติกเพิ่มเติมตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 เป็นต้นไป

         นโยบายดังกล่าวจะห้ามผู้ประกอบการให้หลอดพลาสติกแก่ลูกค้าที่รับประทานอาหารและเครื่องดื่มภายในศูนย์อาหารตามห้างสรรพสินค้าศูนย์การค้าและร้านอาหารfast foodโดยผู้ที่ฝ่าฝืนมีโทษปรับ1,200-6,000ดอลลาร์ไต้หวันแต่ยังคงอนุญาตให้ผู้ประกอบการให้หลอดพลาสติกแก่ลูกค้าที่ซื้อกลับบ้านได้ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะครอบคลุมร้านค้ากว่า 8,000 แห่ง

         เมื่อวันที่ 14กุมภาพันธ์ค.ศ. 2018นาย Lee Ying-Yuan, Minister of Environmental Protection Administration (EPA)ได้แถลงว่า จะยกระดับมาตรการจำกัดการใช้พลาสติกด้วยการงดใช้หลอดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง(single-use plastic straw)ในสถานที่ต่าง ๆในภาคอุตสาหกรรมด้านอาหารและเครื่องดื่มโดยงดการเตรียมหลอดพลาสติกไว้เพื่อบริการลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการภายในร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารและเครื่องดื่มบางแห่งโดยจะเริ่มมาตรการในปี ค.ศ. 2019และจะงดการให้บริการหลอดพลาสติกในร้านอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมดในปี ค.ศ. 2020และในปี ค.ศ. 2025จะงดการใช้หลอดพลาสติกที่ติดอยู่กับบรรจุภัณฑ์ อาทิกล่องเครื่องดื่มต่าง ๆ โดยลูกค้าจะต้องจ่ายเงินเพิ่มหากต้องการใช้หลอดพลาสติกทั้งนี้ไต้หวันตั้งเป้าหมายระยะยาวไว้ว่าภายในปีค.ศ. 2030ไต้หวันจะต้องปลอดจากการใช้หลอดพลาสติกในทุกๆ สถานประกอบการ

         กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ไทเป(DITP) ได้ให้ข้อมูลว่า “ร้านอาหารและร้านเครื่องดื่มหลายแห่งในไต้หวันสนับสนุนและยินดีให้ความร่วมมือกับมาตรการดังกล่าวของรัฐบาลไต้หวันอย่างเต็มที่ อาทิ KFC, Wang  Steak, Mr. Brown Coffee และMcDonald เป็นต้น”

         เมื่อวันที่ 8มิถุนายน ค.ศ.2018ที่ผ่านมา  “Environmental Protection Administration (EPA) ได้ประกาศเน้นย้ำมาตรการงดใช้หลอดพลาสติกอีกครั้ง โดยแจ้งขั้นตอนการดำเนินมาตรการขั้นแรกสำหรับการงดใช้หลอดพลาสติกให้มีผลบังคับใช้ทั่วไปในวันที่1กรกฎาคม ค.ศ.2019โดยกลุ่มเป้าหมายแรกได้แก่ พื้นที่สาธารณะ โรงเรียน ห้างสรรพสินค้าและร้านอาหาร fast food” 

         นอกจากนี้ Environmental Protection Administration (EPA) ได้เปิดให้ประชาชนที่มีความเห็นเพิ่มเติมต่อมาตรการดังกล่าว สามารถยื่นเสนอข้อคิดเห็นต่อสำนักงานฯได้ตลอดเวลาเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์มากขึ้น”

 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก : http://www.rcinet.ca/zh/2018/05/17/145955/