มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหราชอาณาจักร และความเคลื่อนไหวของภาคเอกชนไต้หวัน

มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหราชอาณาจักร และความเคลื่อนไหวของภาคเอกชนไต้หวัน

วันที่นำเข้าข้อมูล 19 ม.ค. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 ก.ย. 2567

| 1,737 view
มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหราชอาณาจักร และความเคลื่อนของภาคเอกชนไต้หวัน

ในโลกของธุรกิจสมัยใหม่ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการทำธุรกิจร่วมกับความยั่งยืนถือเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยเฉพาะประเทศในแทบยุโรปที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการลดคาร์บอนเป็นอย่างมาก สหราชอาณาจักรก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีการดำเนินมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน หรือที่รู้จักกันในชื่อ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism)เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป วันนี้ThaibizTaiwanจะพาทุกท่านมาดูว่าภาคเอกชนไต้หวันตื่นตัวและมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการประกาศ CBAM ของอังกฤษรวมทั้งสหภาพยุโรปอย่างไร

จุดเริ่มต้นของ CBAM UK

จุดเริ่มต้นของ CBAM UK ก็เหมือนกับการประกาศ CBAM ของสหภาพยุโรป เพื่อส่งสัญญาณให้นานาประเทศให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ตลอดจนเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ให้เสียเปรียบด้านราคาต่ออุตสาหกรรมที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน นอกจากนั้น รัฐบาลสหราชอาณาจักรจะดำเนินการจัดเก็บภาษีคาร์บอนสำหรับสินค้านำเข้าบางประเภทภายในปี ค.ศ. 2027 เพื่อช่วยปกป้องธุรกิจภายในประเทศจากสินค้านำเข้าราคาถูกซึ่งมีที่มาจากประเทศที่มีการกำหนดภาษีคาร์บอนต่ำหรือไม่มีเลย

CBAM UK มีกลไกลทำงานอย่างไร

CBAM UK ทำงานเหมือนกำแพงภาษีโดยการคำนวนภาษีจะมีอยู่ 2 ส่วนได้แก่

  1. คำนวนจากจำนวนของราคาคาร์บอน หรือ Carbon Foot Printในสินค้านำเข้าหรือหากไม่มีข้อมูลราคาคาร์บอน จะถูกเรียกเก็บภาษี เพื่อให้ราคาสินค้านำเข้าเทียบเท่ากับราคาของสินค้าที่ผลิตในประเทศ
  2. คำนวนจากค่ากลางของ Carbon Footprint ของสินค้าที่ผลิตในอังกฤษและราคาคาร์บอนสินค้านำเข้า โดยนำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อให้ราคาของสินค้านำเข้าเทียบเท่ากับราคาของสินค้าที่ผลิตในประเทศ

การดำเนินการในปัจจุบัน

ในปีนี้ รัฐบาลอังกฤษกำลังมีการหารือเกี่ยวกับการออกแบบระบบ CBAM กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอาทิ, ภาคธุรกิจที่มีการส่งเสริมตลาดสินค้าคาร์บอนต่ำ แนวทางการติดฉลากผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานและการรายงานการปล่อยมลพิษแก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลการส่งออกสินค้าของไต้หวันล่าสุดที่อาจจะเข้าข่าย UK CBAM

แผนภูมิด้านล่างแสดงชนิด มูลค่า และปริมาณสินค้าส่งออกจากไต้หวันไปยังสหราชอาณาจักรระหว่างเดือน มกราคม - พฤศจิกายน 2567 ที่น่าจะเข้าข่าย UK CBAM (ข้อมูลจากกระทรวงการคลังไต้หวัน)

มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหราชอาณาจักร 
และความเคลื่อนของภาคเอกชนไต้หวัน

จากแผนภูมิพบว่า สินค้าส่งออกจากไต้หวัน 3 รายการที่เข้าข่ายได้แก่

  1. เหล็กและโลหะมีปริมาณ 147,215,511 กิโลกรัม นับเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 164.75 ล้านดอลลาร์
  2. สินค้าที่ทำมาจากโลหะหรือเหล็กมีปริมาณ 41,549,414 กิโลกรัม นับเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 202.69 ล้านดอลลาร์
  3. แก้วมีปริมาณ 1,469,037 กิโลกรัม นับเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 9.34 ล้านดอลลาร์

ความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการไต้หวันต่อ UK CBAM

แม้ปัจุบัน ในไต้หวันจะยังไม่มีการพูดถึง UK CBAM อย่างแพร่หลายมากนัก แต่ก็มีบางบริษัทให้ความเห็น ดังนี้

  1. บริษัท CSC หรือ China Steel Corp จากการรายงานข่าวของ Focus Taiwan พบว่า บริษัท CSC หรือ China Steel Corp บริษัทยักษ์ใหญ่ในการผลิตเหล็กและโลหะของไต้หวันมีการเเรียกร้องให้รัฐบาลไต้หวันตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริษัทเหล็กของไต้หวันมีความสามารถในการแข่งขันในระดับเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในแง่ของการจัดเก็บภาษีคาร์บอนหรือไม่ โดย Wu Yi-min หัวหน้าแผนกคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของ CSC กล่าวว่า “บริษัทพยายามลดคาร์บอนทั้งในกระบวนการผลิตและการสร้างพันธมิตรกับลูกค้าผ่านความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพื่อตอบสนองความท้าทายของ CBAM” รวมทั้งกล่าวถึงความแตกต่างกันในกระบวนการผลิตเหล็กของไต้หวันและยุโรป โดยกระบวนการผลิตของ CSC มีโรงงานออกซิเจนและโรงงานปูนขาวเป็นของตนเองซึ่งแตกต่างกับบริษัทในยุโรป และความแตกต่างนี้จะส่งผลให้ไต้หวันเสียเปรียบทางธุรกิจเป็นอย่างมาก Wu Yi-min จึงมีข้อแนะนำให้รัฐบาลไม่ควรเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมที่จะทำให้ CSC เสียเปรียบมากขึ้น
  2. Tsai Tujin ประธานสมาคมอุตสาหกรรมสกรู ให้สัมภาษณ์กับ Common Weath Magazine ไต้หวันไว้ว่า “ถึง EU จะกล่าวว่าต้องการดำเนินการ CBAM เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและความยังยืน แต่ระบบ CBAM ก็เป็นกำแพงการค้าเช่นกัน” ทั้งนี้ ไต้หวันเป็นผู้ส่งออกสกรูรายใหญ่อันดับสองของโลกโดยมีบริษัทสกรูมากกว่า 1,800 แห่งและพนักงานเกือบ 40,000 คน ในปี 2022 มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมสกรูเข้าใกล้ 200 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน (6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งหนึ่งในสี่มาจากยุโรปหรือประมาณ 50 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน ผู้ผลิตสกรูกล่าวว่าหากไม่เป็นไปตามข้อกําหนดของอัตราภาษีคาร์บอนพวกเขาจะต้องเผชิญกับการสูญเสียกําไรขั้นต้นมากถึง 8% ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรม
  3. Lee Chien Ming ศาสตราจารย์จากสถาบันการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ให้สัมภาษณ์กับ Common Weath Magazineว่า “หลังจากที่สหภาพยุโรปกําหนด CBAM เป็นแบบอย่างที่เรียบร้อย ประเทศต่าง ๆ จะเร่งออกกฎหมายเพื่อแย่งชิงเขตอํานาจศาลภาษีทำให้ไต้หวันต้องจับตามองคู่ค้าสำคัญอื่น ๆเช่นกัน”

มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหราชอาณาจักร 
และความเคลื่อนของภาคเอกชนไต้หวัน

บทสรุป การจัดตั้งระบบ CBAM ของสหราชอาณาจักร ไปเป็นตามวัตถุประสงค์เดียวกันกับสหภาพยุโรปที่ต้องการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศจากการดำเนินการที่จริงจังเรื่องสิ่งแวดล้อม การดำเนินการนี้เป็นสัญญาณที่บอกให้ประชาคมโลกต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับความท้ายทายครั้งใหม่ ซึ่งน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในปี ค.ศ. 2027 ที่จะมีการจัดเก็บภาษีคาร์บอนเป็นครั้งนี้ อย่างไรก็ดี ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศอื่น ๆ ก็น่าจะออกกฎระเบียบหรือมีการจัดตั้งกลไกทางการค้าที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน การปรับตัวของภาคเอกชนไต้หวัน ซึ่งพึ่งพาการส่งออกชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักเช่นเดียวกับประเทศไทย น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีและให้ข้อคิดต่อการดำเนินงานของภาคเอกชนไทยได้ในอนาคต

ADVERTISEMENTLittle Thai Alley