ศูนย์ข้อมูลธุรกิจชวนรู้ ตอนที่ 5 : การเปิดธุรกิจร้านอาหารในไต้หวัน เรื่องราวความสำเร็จของร้านข้าวมันไก่ KMG และ ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ Sivara

ศูนย์ข้อมูลธุรกิจชวนรู้ ตอนที่ 5 : การเปิดธุรกิจร้านอาหารในไต้หวัน เรื่องราวความสำเร็จของร้านข้าวมันไก่ KMG และ ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ Sivara

วันที่นำเข้าข้อมูล 4 เม.ย. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 12 ธ.ค. 2566

| 2,278 view

ศูนย์ข้อมูลธุรกิจชวนรู้ตอนที่ 5 ขอแนะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่สนใจในการเปิดร้านอาหารในไต้หวัน ในเบื้องต้นว่า จะต้องมีวิธีการอย่างไรบ้าง

ขั้นตอนที่สำคัญ 

  1. การลงทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ (Business Registration)
  2. การหาพื้นที่สำหรับสถานประกอบการ
  3. การลงทะเบียนดำเนินธุรกิจ (Administer) และการจดทะเบียนภาษี

1. การลงทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ (Business Registration)

จัดตั้งธุรกิจในไต้หวันนั้น โดยผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการลงทะเบียนจัดตั้งธุรกิจกับกระทรวงเศรษฐการไต้หวัน โดยผู้ประกอบการสามารถเลือกได้ว่าต้องการลงทะเบียนทำธุรกิจแบบใด โดยสามารถเลือกลงทะเบียนได้สองรูปแบบได้แก่ ลงทะเบียนแบบบริษัท หรือ แบบร้านค้า โดยขั้นตอนการลงทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในไต้หวันประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 

1.1 การตรวจสอบรายชื่อบริษัทและการอธิบายประเภทธุรกิจ 

1.2 การเปิดบัญชีธนาคารและการตรวจสอบเงินลงทุน

1.3 การจดทะเบียนบริษัท 

1.4 การขึ้นทะเบียนบริษัทและเลขกำกับภาษี 

ข้อมูลอย่างละเอียดในการลงทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ สำหรับบริษัทและร้านค้าสามารถดูข้อมูลได้ที่ ศูนย์ข้อมูลธุรกิจชวนรู้ตอนที่ 1 : การเริ่มต้นธุรกิจในไต้หวัน 

Tips : หากผู้ประกอบการเลือกลงทะเบียนแบบบริษัทแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนไปทำธุรกิจแบบร้านค้าได้อีก โดยผู้ประกอบการจะต้องตัดสินใจเลือกประเภทกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งตั้งแต่ต้น

2. การหาพื้นที่สำหรับสถานประกอบการ

ขั้นตอนสำคัญต่อมาสำหรับการจัดตั้งธุรกิจร้านอาหารในไต้หวันคือ การเลือกทำเล พื้นที่สำหรับสถานประกอบการ เนื่องจากไต้หวันแบ่งเขตพื้นที่ทำการค้าและเขตที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน โดยผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบว่าพื้นที่ที่ต้องการจัดตั้งธุรกิจ หรือ ร้านอาหาร นั้นอยู่ในเขตพื้นที่ทำการค้าและสามารถดำเนินการได้หรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบเขตพื้นที่ทำการค้าและเขตที่อยู่อาศัย ตามเมืองต่าง ๆ ในไต้หวัน ได้ที่

เว็บไซต์ https://pip.moi.gov.tw/V3/Z/SCRZ0206.aspx (ภาษาจีน)

Tips : ผู้ประกอบการควรจ้างสำนักงานบัญชีท้องถิ่นเพื่อตรวจสอบทำเลการหาพื้นที่สำหรับสถานประกอบการก่อนที่จะมีการเซ็นสัญญาเช่าพื้นที่กับผู้เช่า (Landlord) เพื่อป้องกันการละเมิดทางกฏหมายและอาจต้องเสียค่าปรับสูงถึง 300,000 NTD ตลอดจนต้องยุติกิจการ

นอกจากนี้ เมื่อสามารถหาพื้นที่สำหรับสถานประกอบการได้แล้ว ผู้ประกอบการจะต้องผ่านการตรวจสอบจากกองป้องกันอัคคีภัย กองสิ่งแวดล้อม หน่วยงานอนามัยในพื้นที่  เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ในการดำเนินธุรกิจร้านอาหารอย่างถูกต้องตามกฏหมายท้องถิ่นของไต้หวัน โดยมีรายละเอียดในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

2.1 การป้องกันอัคคีภัย

ปัจจุบันอุตสาหกรรมร้านอาหารและเครื่องดื่ม ยึดหลักกฏหมายข้อบังคับด้านการป้องกันอัคคีภัย (Standard for Installation of Fire Safety Equipment Based on Use and Occupancy) ว่าด้วย การป้องกันอัคคีภัยข้อบังคับทางเทคนิคในการก่อสร้าง และ มาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยในสถานที่ต่าง ๆ เป็นบรรทัดฐานทางกฏหมายในการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการป้องกันอัคคีภัย เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุอัคคีภัย โดยมีการบังคับใช้กับกลุ่ม A ซึ่งประกอบด้วย ร้านอาหาร ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านกาแฟ และร้านน้ำชา ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีสิทธิระงับการดำเนินธุรกิจ กำหนดให้ชำระค่าปรับ ตลอดจนเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการร้านอาหารโดยมีรายละเอียดเบื้องต้นดังนี้ 

  1. อุปกรณ์ดับเพลิง : ร้านอาหารทั้งในที่ร่มและกลางแจ้งจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงสำหรับดับไฟด้วยน้ำหรือสารดับเพลิงอื่น ๆ
  2. อุปกรณ์แจ้งเตือนอัคคีภัยอัตโนมัติ : ร้านอาหารที่มีพื้นที่มากกว่า 300 ตารางเมตรขึ้นไปจะต้องติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเตือนอัตโนมัติ
  3. อุปกรณ์อพยพ : ร้านอาหารจะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการอพยพในกรณีเกิดอัคคีภัย
  4. อุปกรณ์จำเป็นสำหรับการกู้ภัย : ร้านอาหารจะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับหน่วยกู้ภัยเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัย
  5. อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยอื่น ๆ : ร้านอาหารจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยอื่น ๆ ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กฏหมายไต้หวัน โดยข้อบังคับสำหรับการป้องกันอัคคีภัยข้างต้นนั้น เป็นเพียงมาตราที่ 7 จาก 30 มาตราสำหรับกลุ่มธุรกิจประเภท A ซึ่งเกณฑ์การพิจารณาสำหรับมาตรฐานของการป้องกันอัคคีภัยนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกองป้องกันอัคคีภัย และ ขนาดประเภทธุรกิจของผู้ประกอบการ โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

https://law.moj.gov.tw/LawClass/LawAll.aspx?PCode=D0120029 (ภาษาจีน)

https://law.moj.gov.tw/ENG/LawClass/LawAll.aspx?pcode=D0120029 (ภาษาอังกฤษ)

2.2 การกำจัดมลพิษที่เกิดจากการทำอาหาร

การประกอบอาหารเพื่อการค้ามักจะก่อให้เกิดสิ่งปฏิกูล ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดกลิ่นหรือไม่ถูกต้องตามลักษณะสุขอนามัยที่ดี และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมในบริเวณชุมชน จึงต้องมีการจัดการที่ดี โดยกองสิ่งแวดล้อมไต้หวันได้ออกกฏและข้อบังคับสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นในการประกอบร้านอาหาร โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นดังต่อไปนี้ 

ข้อกำหนดเกี่ยวกับเครื่องดูดควัน

  • ลักษณะของเครื่องดูดควันจะต้องมีลักษณะเป็นกรวยสี่เหลี่ยม
  • มีท่อระบายน้ำมัน รูถ่ายเทน้ำมัน และ ถังเก็บน้ำมันจะต้องติดตั้งตามข้อกำหนดของกองสิ่งแวดล้อม
  • มีความเร็วในการดูดก๊าซหรือควันจะต้องมีความเร็วอยู่ที่ 1.0 เมตร/วินาที
  • จุดติดตั้งเครื่องดูดควันจะต้องมีระยะห่างจากพื้นที่ทำอาหารมากกว่า 20 ซม.

ข้อกำหนดเกี่ยวกับท่อระบายอากาศ

  • ความเร็วไอเสียในท่อระบายอากาศจะต้องมีความเร็วอยู่ที่ 7.5เมตร/วินาที
  • จุดติดตั้งเครื่องจะต้องห่างจากวัตถุไวไฟมากกว่า 45 เซนติเมตร
  • จะต้องมีรูสำหรับทำความสะอาดและบำรุงรักษาที่ส่วนโค้งของท่อระบายอากาศ

ข้อกำหนดเกี่ยวกับท่อระบายน้ำ

  • ต้องมีการติดตั้งท่อระบายน้ำ ในบริเวณที่มีการประกอบอาหาร โดยเฉพาะจุดที่จะเกิดควันและน้ำมันจากการประกอบอาหาร
  • ท่อระบายน้ำที่ติดตั้งจะต้องไม่อยู่ในในจุดที่สิ่งปฏิกูลจะไหลลงสู่คูน้ำหรือแม่น้ำที่ไม่ใช่แหล่งระบายน้ำเสีย
  • ท่อระบายน้ำจะต้องติดตั้งกรงหรือลวดเพื่อป้องกันไม่ให้มีวัตถุแปลกปลอมไหลเข้ามา

ข้อกำหนดเกี่ยวกับพัดลมระบายอากาศ

  • จะต้องใช้พัดลมดูดอากาศชนิดที่มีความเร็วต่ำ มีปริมาตรอากาศสูง
  • จะต้องใช้พัดลมดูดอากาศชนิดที่มีเสียงเบา

อุปกรณ์ทั้ง 4 ชนิดนี้มีความจำเป็นและเป็นอุปกรณ์ที่จะต้องติดตั้งในร้านอาหาร สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจในรายละเอียดเพิ่มติม สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คู่มือร้านอาหารจากกองสิ่งแวดล้อม (ภาษาจีน) โดยในข้อมูลเชิงลึกจะมีแบ่งข้อกำหนดของประเภทร้านอาหารและวิธีการประกอบอาหารอย่างชัดเจน ตั้งแต่ประเภทร้านอาหารอย่าง ร้านอาหารจีน ญี่ปุ่น ยุโรป และ วิธีการทำอาหารอย่าง การทอด ปิ้งย่าง หรือแม้กระทั่งอาหารจานด่วน (Fast Food) สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.angelair.com.tw/images/fume/%E9%A4%90%E9%A3%B2%E6%A5%AD%E5%

AE%A3%E5%B0%8E%E6%89%8B%E5%86%8A_106%E5%B9%B4.pdf (ภาษาจีน)

2.3 ข้อกำหนดด้านสุขอนามัย

การจัดตั้งร้านอาหาร/ ร้านค้าในไต้หวัน จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดและข้อบังคับของกระทรวงสาธารณสุขไต้หวันด้านความสะอาด โดยจะมีเกณฑ์และข้อบังคับที่แตกต่างกันตามขนาดของร้านค้า ซึ่งเจ้าหน้าที่หน่วยงานอนามัยจากกระทรวงสาธารณสุขจะมีการสุ่มตรวจ โดยมีข้อกำหนดพื้นฐาน 5 ข้อดังนี้ 

  1. บริเวณอ่างล้างจานจะต้องมีน้ำระบายได้อย่างเพียงพอและต้องจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำความสะอาด รวมถึงจะต้องมีน้ำยาฆ่าเชื้อติดตั้งในบริเวณโซนห้องครัว และ การติดตั้งก๊อกน้ำ ควรติดตั้งให้อยู่สูงเหนือกว่าระดับขอบของอ่างล้างจานเพื่อป้องกันคราบและสิ่งสกปรกล้นออกนอกบริเวณ หากบริเวณทำความสะอาดมีปริมาณน้ำไหลไม่เพียงพอ จะต้องจัดเตรียมภาชนะที่ใช้แล้วทิ้ง เพื่อรักษาความสะอาดในบริเวณดังกล่าว
  2. บริเวณห้องครัวจะต้องติดตั้งท่อดักน้ำมันและหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ
  3. บริเวณห้องครัวจะต้องติดตั้งระบบบำบัดควันและคราบน้ำมันเพื่อหลีกเลี่ยงมลพิษจากควันน้ำมัน
  4. บริเวณห้องครัวจะต้องมีมาตรการรักษาอุณหภูมิในห้องให้ถ่ายเทและเหมาะสม
  5. ธุรกิจอื่น ๆ นอกเหนือจากร้านอาหารที่ไม่มีที่นั่ง จะต้องแยกจุดชำระเงินออกจากบริเวณทำครัว และต้องดำเนินการภายใต้การควบคุมของหน่วยงานอนามัยท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด

ข้อกำหนดพื้นฐานทั้ง 5 ข้อ เป็นเพียงข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมร้านอาหารจะต้องปฏิบัติตาม ซึ่งหากผู้ประกอบการได้รับการตรวจสอบและผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดแล้ว ผู้ประกอบการ จะได้รับตราประทับจากหน่วยงานอนามัย โดยตราประทับจะมีอายุการใช้งานทั้งหมด 2 ปี แต่ หากผู้ประกอบการฝ่าฝืนหรือไม่ทำตามกฏข้อบังคับของหลักสุขอนามัยในระหว่างช่วงระยะเวลา 2 ปี หากมีการตรวจสอบ หรือได้รับคำเรียกร้อง จะถูกเพิกถอนตราประทับ ในกรณีดังนี้

  1. ผู้ประกอบการไม่สามารถรักษามาตรฐานความสะอาดได้เสมอต้นเสมอปลายและไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานอนามัย โดยในขั้นแรกหากตรวจพบ หน่วยงานจะมีการแจ้งเตือนและกำหนดระยะเวลาให้ผู้ประกอบการปรับปรุง หากมีการตรวจสอบเพิ่มเติมแล้ว ยังไม่มีการปรับปรุงหรือตรงตามมาตรฐานของหน่วยงานฯ จะถูกเพิกถอนตราประทับ
  2. ผู้ประกอบการต้องได้รับการประเมินจากหน่วยงานอนามัยและได้รับใบรับรองด้านอาหารปลอดสารพิษ
  3. การยุติกิจการถาวร
  4. สถานที่ดำเนินกิจการและสถานที่ได้รับใบรับรองไม่สอดคล้องกัน

3. การลงทะเบียนดำเนินธุรกิจและการขึ้นภาษี

หลังจากผ่านการตรวจสอบทางด้านการป้องกันอัคคีภัย การกำจัดมลพิษที่เกิดจากอาหาร และด้านสุขอนามัยข้างต้นแล้ว ผู้ประกอบการจะได้รับใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจและสามารถนำใบอนุญาตไปขึ้นทะเบียนภาษีกับกรมสรรพากร โดยขั้นตอน การลงทะเบียนดำเนินธุรกิจ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนได้แก่ 

  1. ตรวจสอบสถานที่ประกอบการว่าผ่านมาตรฐานด้านอัคคีภัย สิ่งแวดล้อม และสุขอนามัยหรือไม่
  2. ยื่นตรวจสอบรายชื่อร้านค้าหรือบริษัท

รายชื่อร้านค้าและบริษัทไม่สามารถจัดตั้งซ้ำกันได้ตามกฏหมายของไต้หวัน โดยปกติแล้วผู้ประกอบการจะต้องยื่นเสนอชื่อที่ประสงค์จะจดทะเบียนทั้งหมด 3 รายชื่อ หลังจากนั้นทางกระทรวงเศรษฐการจะเป็นผู้ตรวจสอบรายชื่อว่ามีผู้ใช้แล้ว หรือ มีความเสี่ยงต่อการใช้งาน อาทิ ชื่อที่อาจเกี่ยวข้องทางการเมือง หรือ ความมั่นคง โดยผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบรายชื่อกิจการร้านค้าในทุกอุตสาหกรรมได้ที่เว็บไซต์ เพื่อตรวจสอบว่ารายชื่อที่ต้องการจัดตั้งร้านค้ามีผู้ใช้งานก่อนแล้วหรือไม่ 

https://serv.gcis.nat.gov.tw/moeadsBF/bms/bmsNameSearchListAction.do?method=first&agencyCode=allbf&showGcisLocation=true&showBusi=true&showFact=false

  1. ยื่นลงทะเบียนจัดตั้งธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจท้องถิ่นกระทรวงเศรษฐการ

ผู้ประกอบการจะต้องจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในการดำเนินธุรกิจส่งมอบให้กับกรมธุรกิจท้องถิ่น กระทรวงเศรษฐการ เพื่อรับเอกสารอนุญาตการดำเนินธุรกิจ โดยแต่ละเมือง จะใช้เอกสารที่แตกต่างกัน ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารขั้นตอนในการยื่น ได้ที่เว็บไซต์ : 

https://gcis.nat.gov.tw/elaw/English/index.jsp (ภาษาอังกฤษ)

https://gcis.nat.gov.tw/elaw/lawDtlAction.do?method=viewLaw&pk=38 (ภาษาจีน)

https://www.tcooc.gov.taipei/News.aspx?n=2A363B1B3EBE4218&sms=C6E64E7B18A419BC (เฉพาะไทเป)

https://www.economic.ntpc.gov.tw/List/bussiness-registration2 (เฉพาะนิวไทเป)

  1. ยื่นลงทะเบียนดำเนินธุรกิจกับสรรพากร

นอกจากนี้ หลังจากที่ผู้ประกอบการได้เอกสารในการดำเนินธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องไปยื่นขึ้นทะเบียนดำเนินธุรกิจกับสรรพากรท้องถิ่น โดยสรรพากรในแต่ละพื้นที่จะมีข้อบังคับที่แตกต่างกันตามเขต โดยในบางพื้นที่ สรรพากรจะประสงค์ให้ผู้ประกอบการเดินทางไปเซ็นชื่อที่สรรพากรก่อนจึงจะออกใบอนุญาตดำเนินธุรกิจ แต่ในบางพื้นที่ สรรพากรอาจจะให้ผู้ประกอบการรอเอกสารดำเนินธุรกิจเป็นเวลา 10 วัน และเมื่อได้รับเอกสารแล้วจึงค่อยเดินทางไปที่สรรพากรเพื่อเซ็นชื่อ และ รับหมายเลขใบกำกับภาษี (統一發票)พร้อมทั้งกำหนดและตกลงวันยื่นจ่ายภาษีตามรูปแบบ ขนาด ของธุรกิจ โดยอาจจ่ายเป็นแบบรายเดือน รายปี หรือแบบ เหมา ขึ้นอยู่กับการตกลงและดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนดังกล่าว ผู้ประกอบการจึงจะสามารถดำเนินธุรกิจได้ โดยผู้ประกอบการสามารถดาวน์โหลดเอกสารลงทะเบียนภาษีได้ที่เว็บไซต์ https://www.etax.nat.gov.tw/etwmain/ 

 

แหล่งข้อมูล

https://www.chinyi0007.com.tw/registration-corporation-all/how-to-registration-business

https://www.119.gov.taipei/News_Content.aspx?n=2A571B4F6051BF47&sms=AA06A255CE04190C&s=1125EDA81EFEFD77

https://thedinernews.com/restaurant-fire-control-kitchen-fumes/

https://law.moj.gov.tw/LawClass/LawAll.aspx?PCode=D0120029

https://www.zone.gov.taipei/

https://www.mke.com.tw/ec99/rwd1170/category.asp?category_id=57

https://blog.xuite.net/terry55tot/blog/588829042

https://health.gov.taipei/News.aspx?n=DE4B43F114D94B4F&sms=F8548A1E404339A3

(อนามัย) 

https://read01.com/zh-tw/5MgOeRG.html#.Yg9bjuhByM8

https://www.mohw.gov.tw/cp-2634-41-1.html

https://www.gov.tw/News_Content.aspx?n=26&s=541581&sms=9065

https://eztaxtw.com/%E5%85%AC%E5%8F%B8%E8%A1%8C%E8%99%9F%E7%94%B3%E8%AB%8B%E6%B5%81%E7%A8%8B/

https://law.moj.gov.tw/LawClass/LawParaDeatil.aspx?pcode=L0040122&bp=6

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ

ข่าวใกล้เคียง

ข่าวใกล้เคียง